Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย เส้นทางที่เหมาะกับผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน


เส้นทางที่เหมาะกับผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศึกษาการจัดประเภทของทางจักรยานด้วยวิธีกำหนดค่าระดับความกดดันทางจราจร(Level of Traffic Stress :LTS) เพื่อให้ผู้ใช้จักรยานสามารถเลือกเส้นทางที่ปลอดภัยเหมาะสมกับทักษะความชำนาญในการใช้จักรยาน และความอดทนต่อกระแสจราจรของตนเองได้ เป็นข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่ขี่จักรยานเป็นประจำ นำมาเป็นไกด์ไลน์ในการเดินทางหรือเลือกใช้เส้นทางได้เลยค่ะ

LTS1 ความกดดันของกระแสการจราจรต่ำ
เป็นถนนที่มีความเร็วของรถและปริมาณจราจรต่ำ มีจำนวนช่องทางจราจรมากกว่า 1 ช่องทางในหนึ่งทิศทาง สามารถข้ามทางแยกได้สะดวกและมีช่องทางจักรยานโดยเฉพาะ เช่น ถนนท้องถิ่น
ความเหมาะสม: เหมาะกับผู้ขับขี่จักรยานทุกประเภท

LTS2 ความกดดันของกระแสจราจรเล็กน้อย
มีความเร็วในการจราจรสูงกว่า LTS1 เล็กน้อย แต่ยังคงมีความเร็วต่ำ มีช่องทางเดินรถได้ถึง 3 ช่องทาง สามาถข้ามแยกได้ไม่ยาก เป็นถนนสายหลักที่ร่วมกับเส้นทางจักรยานหรือถนนย่านธุรกิจกลางเมือง
ความเหมาะสม: เหมาะสำหรับผู้ใช้จักรยานที่เป็นผู้ใหญ่

LTS3 ความกดดันของกระแสจราจรระดับปานกลาง
มีความเร็วในการจราจรระดับปานกลาง มีช่องทางเดินรรถได้ถึง 5 ช่องทาง ทางแยกมีความปลอดภัย เป็นถนนสายหลัก มีความเร็วต่ำที่มีช่องทางหรือถนนที่มีความเร็วปานกลาง ที่ไม่ได้มีหลายช่องทาง
ความเหมาะสม: สำหรับผู้ใช้จักรยานที่มีประสบการณ์พอสมควร

เกณฑ์การพิจารณาระดับหรือทางจักรยาน โดยวิธีการแบ่งระดับความกดดันจราจร ดังนี้
• เกณฑ์การกำหนดประเภททางจักรยาน
o พื้นที่สำหรับการใช้จักรยาน
o การกีดขวางช่องทางจักรยาน
o ความกว้างและความเร็วจำกัดบริเวณที่ข้าม
o โครงสร้างของถนน
o ความเร็วจำกัดหรือความเร็วรถยนต์ทั่วไปบนถนน
o ความกว้างของถนน(จำนวนช่องทางเดินรถ)

• เกณฑ์การกำหนดความกดดันทางจราจรของถนน
o ส่วนที่เข้าสู่ทางแยก(Intersection Approaches)
o ส่วนการข้ามฝั่งถนน(Lateral Crossings)
o ส่วนของถนน(Segment)

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการแบ่งระดับความกดดันจราจร(LTS) ได้แก่
• ความเร็วจำกัดหรือความเร็วทั่วไป(สำรวจจากวิดีโอการจราจรวันอังคาร-พฤหัสบดี เวลา09:00-15:00 น.)
• จำนวนช่องทางจราจรต่อทิศทาง
• ความกว้างของช่องจอดรถหรือช่องจักรยาน
• การกีดขวางช่องจักรยาน
• การกีดขวางช่องจักรยาน ซ้ำกัน?
• โครงร่างของถนนช่วงที่มีการเปลี่ยนทิศทาง
• ปริมาณจราจรรายวัน(ศึกษาเส้นทางบริเวณนอกเมือง)
• ความกว้างไหล่ทาง(ศึกษาเส้นทางบริเวณนอกเมือง)

พื้นที่การศึกษา เป็นโครงข่ายเส้นทางที่มีสถานีจักรยานสาธารณะของโครงการจักรยานสาธารณะกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 14 เส้นทาง คือ
(1) ถนนพระราม 4 บริเวณแยกวิทยุ ถึงบริเวณแยกหัวลำโพง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร
(2) ถนนวิทยุ บริเวณแยกวิทยุ ถึงบริเวณแยกเพลินจิตระยะทาง 1.9 กิโลเมตร
(3) ถนนสาทร บริเวณแยกวิทยุถึงบริเวณแยกสาทร-สุรศักดิ์ ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร
(4) ถนนราชดำริ บริเวณแยกศาลาแดง ถึงบริเวณแยกราชประสงค์ ระยะทาง 1.7 กิโลเมตร
(5) ถนนสีลม บริเวณแยกศาลาแดงถึงบริเวณแยกสุรศักดิ์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร
(6) ถนนอังรีดูนังต์ บริเวณแยกอังรีดูนังต์ ถึงบริเวณแยกเฉลิมเผ่า ระยะทาง 1.6 กิโลเมตร
(7) ถนนพญาไท บริเวณแยกสามย่าน ถึงบริเวณแยกปทุมวัน ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
(8) ถนนบรรทัดทอง บริเวณแยกสะพานเหลืองถึงบริเวณแยกเจริญผล ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
(9) ถนนพระราม1 บริเวณแยกเจริญผล ถึงบริเวณแยกราชประสงค์ ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
(10) ถนนเพลินจิต บริเวณแยกราชประสงค์ ถึงบริเวณแยกเพลินจิต ระยะทาง 0.8 กิโลเมตร
(11) ถนนจรูญเวียง บริเวณแยกสาทร-สุรศักดิ์ ถึงบริเวณแยกใต้ทางด่วนสีลม ระยะทาง 0.5 กิโลเมตร
(12) ถนนมเหสักข์ บริเวณแยกสุรศักดิ์ ถึงบริเวณแยกมเหสักข์ระยะทาง 0.3 กิโลเมตร
(13) ถนนมหาเศรษฐ์ บริเวณแยกมเหสักข์ ถึงบริเวณแยกมหานครสี่พระยา ระยะทาง 0.5 กิโลเมตร
(14) ถนนมหานคร บริเวณแยกมหานครสี่พระยา ถึงบริเวณแยกมหานคร ระยะทาง 0.7 กิโลเมตร
รวมระยะทางของเส้นทางในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 20.8 กิโลเมตร

โดยถนนทุกเส้นทางที่ศึกษา ถูกกำหนดให้มีความกดดันจราจรระดับ4 เนื่องจากระดับความกดดันจราจรสำหรับเข้าสู่ทางแยก อยู่ที่ระดับ4(ส่วนหนึ่งจากบทความวิชาการ:การจำแนกเส้นทางที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้จักรยานด้วยวิธีการแบ่งระดับความกดดันของกระแสจราจร(Classification of Safe Bike Routes using Level of Traffic Stress Methodology) พัชรรัสมิ์ ธนพรนันท์ และวศิน เกียรติโกมล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

Print Friendly, PDF & Email