สถาบันการเดินและการจักรยานไทยร่วมกับ สสส. สนับสนุนนักวิจัย 9 พื้นที่ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายขององค์การอนามัยโลก (Global Action Plan on physical Activity 2018-2030) ใน 4 ประเด็นหลัก คือ
(1) Create Active Societies: การดำเนินงานที่มุ่งขับเคลื่อนและสร้างกิจกรรมทางสังคม การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดที่สอดคล้องกับวิถีปฏิบัติ (norms) ของพื้นที่เป็นหลัก
(2) Create Active Environments: การดำเนินงานที่มุ่งให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างและกายภาพเมือง ชุมชน เป็นสำคัญ
(3) Create Active People: การดำเนินงานที่มุ่งสร้างทัศนคติที่ดี และคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของคนและกลุ่มนักเรียน-เยาวชน
(4) Create Active System: การดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของการกำหนดนโยบายของท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินและการใช้จักรยาน
นักวิจัยวิเคราะห์ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย และกำหนดประเด็นในการดำเนินงานที่เหมาะสมมากที่สุดเป็นประเด็นหลัก แต่ทั้งนี้ยังต้องปฏิบัติการควบคู่กับประเด็นรองอีก 3 ประเด็นด้วย ตัวอย่างเช่น
• ดร.สหัทยา วิเศษ เลือกประเด็นหลัก Active Societies ดำเนินการกับชุมชนในพื้นที่ตำบลหย่วน แม่ลาว เวียง และอ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา ด้วยการจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ สื่อสาร ที่ “จักรยาน” สามารถบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นๆในพื้นที่ได้ เช่น ดูแลรักษาป่าชุมชน สร้างความสัมพันธ์ลดช่องว่างระหว่างวัยในชุมชน ท่องเที่ยวชุมชนด้วยจักรยาน ให้แกนนำแต่ละกลุ่มเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน ขยับจากชุมชนเป็นเครือข่ายชุมชนระหว่างตำบล เช่นเดียวกับ อาจารย์สุวิมล เจียรธราวานิช ที่ดำเนินงานร่วมกับ 3 ชุมชน ในซอยงามดูพลี เขตสาทร กรุงเทพฯ และชุมชนในเทศบาลเมืองน่าน อ.เมือง จ.น่าน ที่ดำเนินการโดย นายพงศ์วิสิฐ คำยันต์
• ผศ.ดร.พลเดช เชาวรัตน์ ดำเนินงานประเด็น Active Environments กับชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ด้วยแนวคิด Place Making “การสร้างถิ่นที่” ด้วยแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ตามอัตลักษณ์ เกิดความสวยงามและปลอดภัย และมีการกระบวนการทำงานที่มีส่วนร่วมของชาวชุมชน ทำให้ชุมชนรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในการใช้จักรยาน ส่งผลให้ชาวชุมชนสุขสบายใจและ ชุมชนหนอ%B