เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการเดินและการจักรยานไทย ได้มีการจัดประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 6 (The 6th Thailand Bike and Walk Forum)
การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันประเทศไทย ครั้งที่ 6 ได้รับเกียรติจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะด้วยเดิน จักรยาน เพื่อสุขภาพคนและเมือง” เผย 4 ยุทธศาสตร์นโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพการเดินทาง โดยกำหนดการเดินและการใช้จักรยานเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางได้อย่างครบวงจร
นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่านโยบายเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทาง ต้องคำนึงถึงการเชื่อมต่อ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน ไม่ใช่เรื่องการส่งเสริมเฉพาะการใช้จักรยาน แต่เป็นการเชื่อมโยงการเดินทางหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันให้ทุกคนเข้าถึงได้ เช่น เชื่อมการเดินทางจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมืองด้วยจักรยาน หรือรถบริการสาธารณะเข้าสู่ตัวเมือง การพัฒนาทางหลวงที่มีพื้นที่เพียงพอและปลอดภัยสำหรับการใช้จักรยาน โดยนโยบายกระทรวงคมนาคมมี 4 เรื่องหลักที่สำคัญ ได้แก่
1.ประสิทธิภาพในการเดินทางและการคมนาคมขนส่ง ให้ความสำคัญทั้งเรื่องของคนและพาหนะ ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการเดินและการปั่นในสมัยก่อนเมื่อมีการพัฒนาสร้างถนน เป็นการสร้างถนนสำหรับยานยนต์ แต่ต่อไปการสร้างถนนต้องแบ่งช่องทางสำหรับจักรยานไว้ด้วย เพื่อการลดการใช้ยานยนต์และลดมลภาวะในอากาศ
2.ปลอดภัยและดีต่อสภาพแวดล้อม ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนน และส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.การเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง ทุกคนที่อยู่ในสังคมไม่ว่าจะมีสถานะทางเศรษฐกิจอย่างไร เป็นคนรายได้น้อยก็สามารถใช้รถไฟฟ้าได้ รวมทั้งมีการออกแบบพื้นที่เอื้อให้คนพิการ เด็ก ผู้สูงอายุสามารถใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้ หรือเรียกว่าการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน หรือท่าเรือต่างๆ ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ
4.เทคโนโลยี มีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และต่อยอดสู่นวัตกรรม การค้นพบความรู้ใหม่แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรม สามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบขนส่งและการเดินทางได้
จากนโยบายสู่การปฏิบัติ
โดยการนำแนวนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลต้องทำอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
• ระบบรถไฟฟ้าที่ครอบคลุม ในกรุงเทพฯ ต้องเร่งสร้างระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟให้ครอบคลุม เมื่อรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่แล้วให้ลดปริมาณสายรถเมล์ลง โดยให้รถเมล์วิ่งเฉพาะระยะสั้น เพื่อให้รถเมล์ทำหน้าที่ขนส่งคนไปขึ้นรถไฟฟ้า แต่ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยควรจะเข้าถึงรถไฟฟ้าได้ทุก 500 เมตร ซึ่งตรงกับมาตรฐานระยะเดินเท้าที่คนไทยสามารถเดินได้ ซึ่งทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้กำหนดไว้
• ทุกคนเข้าถึงได้ ทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมต้องสามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ คนทุกเพศ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกข้อจำกัดทางกายภาพ โดยการใช้หลักการ Universal Design ทั้งสถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟ หรือแม้แต่ถนนหนทาง
• ทางจักรยาน ในเขตต่างจังหวัดทางหลวงแผ่นดินทั้งหลายได้เริ่มทำทางจักรยานคู่ขนานไว้แล้ว โดยใช้พื้นที่เขตทางที่แยกออกจากพื้นผิวจราจรของรถยนต์ มีการขยายไหล่ทางเพื่อให้เป็นทางจักรยาน หรืออาจใช้พื้นที่บางส่วนมาเป็นทางจักรยาน มีการขีดสีตีเส้นที่ชัดเจน โดยเมื่อทำแล้วต้องรณรงค์ให้มีคนเข้ามาใช้งานจริงให้มากขึ้น
• ทางเท้า สำหรับในเขตเมืองถ้ามีพื้นที่เพียงพอสามารถออกแบบทำทางจักรยานแยกต่างหาก หรือถ้าไม่มีพื้นที่พอควรทำทางร่วม ทั้งทางเท้าและทางจักรยานใช้ร่วมกันได้
• มาตรการจำกัดความเร็ว โดยใช้มาตรการลดขนาดมาตรฐานของช่องทางจราจรปกติ 3.50 เมตร ให้เหลือ 3.25 เมตร (เท่าญี่ปุ่น) หรือ 3.15 เมตร (เท่ากับในเขตเมืองหลายแห่งในยุโรป) ซึ่งจะทำให้ถนนที่มีอยู่อย่างจำกัดรองรับรถยนต์ได้มากขึ้น และถนนแคบมีส่วนช่วยให้ความเร็วของการสัญจรลดลงโดยอัตโนมัติ
• สิทธิในการใช้พื้นผิวจราจรร่วมกัน สร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิในการใช้พื้นผิวจราจรร่วมกัน รณรงค์ให้ผู้ใช้ยานยนต์ยอมรับการเดินเท้าและการขี่จักรยานว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางทั้งหมด ผู้ใช้รถยนต์ต้องแบ่งพื้นที่ผิวจราจรให้กับพาหนะอื่นๆ ให้ไปด้วยกันได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทัศนคติแบบนี้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทย ต้องสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
• การใช้วัสดุพื้นผิวและสัญลักษณ์ด้านการจราจร ให้ความสําคัญด้านความปลอดภัยในการสัญจรมากขึ้น โดยการใช้วัสดุ การทําพื้นผิวที่แตกต่าง และการสร้าง สัญลักษณ์การจราจร ทั้งเพื่อจํากัดความเร็ว กําหนดระยะ ห่างระหว่างรถสองคัน หรือการให้รับรู้จุดตัด ทางข้าม ต่างๆ การทําสัญลักษณ์ให้ชุมชนเป็นเขตควบคุมความเร็ว โดยมีสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างชัดเจนในการเริ่มและสิ้นสุด เขตควบคุมความเร็ว โดยต่อไปควรนําสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ไปบรรจุในการสอบใบขับขี่ให้มากขึ้น ปรับปรุง ข้อสอบใบขับขี่ให้คนขับรถยนต์เข้าใจการใช้ถนนหนทาง ร่วมกับจักรยานให้มากขึ้น
• เทคโนโลยีและนวัตกรรม นําเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาเพื่ออํานวยความสะดวกในการเดินทาง เพื่อลด อุปสรรคในการเดินและการใช้จักรยานให้ลดน้อยลง
• Non-motorised Transport สร้างการรับรู้ว่าการเดิน ทางโดยไม่ใช้ยานยนต์เป็นอนาคตแห่งการเดินทาง ทั้ง ประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดีต่อสุขภาพ ลดปัญหา การจราจร แต่ประเด็นสําคัญคือการเชื่อมต่อ เพราะการ เดินหรือขี่จักรยานมีข้อจํากัดด้านระยะทางและความ ทนทานต่อสภาพอากาศ ดังนั้นการต่อเชื่อมกับการเดินทางระบบอื่นๆ ต้องเกิดขึ้นจริงเพื่อให้การเดินทางโดยไม่ ใช้ยานยนต์ได้รับการยอมรับจากสังคม
• เชื่อมต่อสนามบิน นโยบายกระทรวงคมนาคมให้ความ สําคัญกับการเชื่อมต่อในพื้นที่ระหว่างการเดินทาง โดย เริ่มต้นจากสนามบินก่อน ทุกสนามบินจะต้องมีรถเมล์วิ่งเข้าเมืองโดยไปสิ้นสุดที่สถานีขนส่งในตัวเมือง หรือจุด อื่นๆ ที่สําคัญในตัวเมือง สนามบินมีขนาดต่างกัน ไม่ ต้องลงทุนกับรถเมล์ราคาแพง บางสนามบินขนาดเล็ก อาจใช้เพียงรถสองแถวก็ได้ ขอเพียงให้เป็นบริการ ขนส่งสาธารณะที่ทั่วถึง นอกจากนี้ในสนามบินควรมี จุดจอดจักรยาน หรือมีจักรยานไว้คอยบริการด้วย
• เชื่อมต่อสถานีรถไฟ ทุกสถานีของรถไฟฟ้าความเร็ว สูงและรถไฟทางคู่ต้องมีถนนเข้าออกอย่างเหมาะสม และมีบริการรถเมล์จากสถานีรถไฟเข้าเมือง มีที่จอดรถ แบบจอดแล้วจรสําหรับคนที่ขับรถมาจอดแล้วต่อรถไฟ รวมถึงมีที่จอดจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยด้วย
• ส่งเสียงชาว Non-motorised Transport ขอให้ ทุกคนช่วยกันผลักดันให้เสียงของกลุ่มผู้ไม่ใช้ยานยนต์ ให้ดังกว่านี้ ด้วยการบอกความต้องการ การสนับสนุน สิทธิด้านต่างๆ ของคนกลุ่มนี้
• เมืองต้นแบบ สร้างพื้นที่ต้นแบบ แม้นโยบายจะ เป็นการคิดพื้นที่ใหญ่ทั้งระบบ แต่ควรเริ่มต้นทําอย่าง จริงจังในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่น ได้เรียนรู้เริ่มต้นที่จังหวัดหรือเมืองที่มีศักยภาพ ทําให้ เมืองเป็น Low Carbon City ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวาง ผังเมืองและการจราจร ยกตัวอย่างจังหวัดเลยที่ทํา อย่างจริงจัง โดยใช้อํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้าใจและเห็นความสําคัญใน การผลักดันให้เกิดพื้นที่เมืองที่เป็นมิตรกับการเดิน และการใช้จักรยาน
Vision แบบนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ท่านขับเคลื่อนงานต่อไปได้นะครับ