การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ “ย่านถนนบำรุงเมือง เขตพระนคร” ให้เอื้อต่อการเดิน และการปั่นจักรยาน ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยของโครงการ “เดินสบาย ปั่นปลอดภัย สัญจรทางเลือก เมืองสุขภาพดี” ได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของ 3 ภาคส่วน ทั้งระดับผู้กำหนด นโยบาย (Policymakers), ผู้คนที่อาศัยและทำงานในย่านบำรุงเมือง เขตพระนคร (Stakeholders) และผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนน และการจราจร (Specialists) อย่างกรุงเทพมหานคร, สำนักการจราจรและขนส่ง, ศูนย์มิตรเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย แล้วมีกระบวนการทำงานกับทั้ง 3 ภาคส่วนอย่างไร มาดูกันค่ะ
- ผู้กำหนดนโยบาย (Policymakers)
นำเสนอโครงการต่อผู้บริหารกทม. แต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทแบ่งกลุ่มรับผิดชอบภารกิจ และลงพื้นที่สำรวจ พูดคุยทำความเข้าใจอย่างเข้มข้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ และผู้แทนสำนักต่างๆ ของกทม.ในการพิจารณาการปรับพื้นที่ทางกายภาพ - ผู้คนที่อาศัยและทำงานในพื้นที่ (Stakeholders)
รับฟังความต้องการของผู้คนที่อาศัยและทำงานในย่านบำรุงเมือง เขตพระนคร ผ่านเวทีระดมความเห็นจากผู้แทนของ 6 ชุมชน - ผู้เชี่ยวชาญ (Specialists)
ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาข้อมูลสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่ ประเมินความเสี่ยงโครงสร้างพื้นฐานของถนนในย่านตามมาตรฐานสากล (Star Rating) ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างรอบคอบ พร้อมออกแบบปรับปรุงพื้นที่กายภาพเพื่อตอบโจทย์เดินสบาย ปั่นปลอดภัย