กระบวนการเพื่อการนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจในยุคปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 21 ที่เมืองใหญ่จากทั่วทุกมุมโลกนั้นจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างระบบการบริหารจัดการเมืองที่ดี เพื่อให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับประชากรที่อยู่อาศัยภายในเมืองใหญ่
จากข้อมูลโดยทั่วไปนั้น อัตราเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรโลก ในแต่ละอาทิตย์มีประชากรจากทั่วโลกจำนวนกว่า 3.1 ล้านคน ได้ย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองใหญ่ และได้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ 2040 ประชากรโลกที่เคลื่อนย้ายเข้ามาอาศัยภายในพื้นที่ในเมืองใหญ่จะมีอยู่ประมาณ 65% คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด
ก้าวสำคัญสำหรับการนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
ในการที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้นั้น ระบบการบริหารจัดการภายในเมืองใหญ่จะต้องไม่มีเฉพาะแผนบริหารจัดการในด้านความเจริญและความมั่งคั่งในด้านเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่จะต้องมีแผนเพื่อการพัฒนาในด้านคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการจะสามารถเข้ามาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ(Smart City)ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ในปัจจุบันนี้เราสามารถดูข้อมูลอินโฟร์กราฟิคโดยรวมของการเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ได้ที่ www.postscapes.com เพื่อช่วยให้สามารถเห็นภาพรวมและรับทราบสิ่งที่จำเป็นในการที่จะเปลี่ยนเมืองใหญ่ธรรมดาเป็นเมืองอัจฉริยะได้ในอนาคต และมีส่วนช่วยในการหาข้อมูลตัวอย่างด้านเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม เพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะภายในเมืองใหญ่ เพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ผู้อาศัยอยู่ภายในเมืองใหญ่
โครงสร้างสำคัญสำหรับเมืองอัจฉริยะในอนาคต
เมืองอัจฉริยะในอนาคตจะต้องมีการลดใช้พลังงานไฟฟ้าและเน้นมาใช้พลังสะอาดเช่นพลังงานจากแสงอาทิตย์ และ มีอินเตอร์เน็ต Wi – Fi ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะต่างๆภายในเมือง รวมถึงต้องมีแอปพริเคชั่นในมือถือเพื่อประชาชนทั่วไปที่อาศัยในเมืองใหญ่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลการคมนาคม, ข้อมูลด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อความยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งในด้านของความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และ ความปลอดภัย
สำหรับแนวทางเพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะนั้นสามารถแบ่งเป็น 6 หัวข้อดังต่อไปนี้
1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
มีระบบแสงอัจฉริยะ (Smart Lighting) ซึ่งระบบแสงอัจฉริยะนั้นเป็นระบบที่ใช้แสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์เพื่อลดการใช้ที่แสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งระบบนี้สามารถช่วยลดการใช้พลังงาน และ ช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหลอดไฟธรรมดาที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
2.ด้านอาคาร (Building)
มีการนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้สำหรับการจัดการด้านพลังงานภายในอาคาร อาทิ เช่น ด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงาน , ควบคุมการใช้แสงสว่างภายในอาคาร เป็นต้น รวมถึงมีการผลักดันนำแผงโซล่าเซลล์มาบูรณาการในการออกแบบอาคารแทนการใช้ระบบไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานในรูปแบบเดิม และ ในด้านตัวอาคารต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร ระบบเทคโนโลยีที่ใช้จะต้องสามารถควบคุมเพลิงใหม่ได้ทุกห้องภายในอาคารสำนักงาน
3. ด้านสาธารณูปโภค (Utilities)
มีระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ(Smart Grids) ซึ่งช่วยเชื่อมต่อโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน โดยในระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะจะทำการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศ และ ระบบสื่อสารเข้าไว้ด้วยกัน และ สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด
4. ด้านการคมนาคม(Transport)
สนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ จัดให้มีเครื่องชาร์ตไฟฟ้าบริเวณพื้นที่สาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงจัดให้มีพื้นที่การสัญจรคมนาคมสำหรับผู้ใช้จักรยานและเดิน โดยมีการจัดสรรพื้นที่ร่วมกันโดยมีเลนเร็ว(Fast Lanes) สำหรับผู้ที่ขับขี่รถทั่วไป และ เลนช้า (Slow Lanes) สำหรับผู้ที่ปั่นจักรยาน และ ผู้ที่ต้องการเดินสัญจรไปมา
5.ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
มีระบบการพัฒนาอาคารเขียว(Green Building) สนับสนุนการออกแบบและสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้พื้นที่ดาดฟ้าของอาคารสำนักงานนำมาใช้เป็นพื้นที่ในการปลูกต้นไม้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มออกซิเจน และ ลดคาร์บอนไดร์ออกไซด์(CO2)ในชั้นบรรยากาศ รวมถึงต้องมีระบบการจัดการควบคุมมลพิษทางอากาศไปพร้อมกับการหันมาใช้พลังงานทดแทน(Renewable Energy) และพัฒนาพื้นที่ภายในเมืองเพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวภายในเมืองใหญ่ให้มีมากขึ้น
6. ด้านการใช้ชีวิต (Life)
จัดให้มีระบบอินเตอร์เน็ต Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน และมีระบบฐานข้อมูลที่สามารถอัปเดตข้อมูลได้แบบ Rea-Time เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูล และ เพื่อความสะดวกในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลการจราจรในแต่ละเส้นทางแบบ Real – Time เพื่อให้ประชาชนสามารถเช็คข้อมูลการจราจรเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการเดินทาง รวมถึงมีระบบที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นที่ว่างสำหรับการจอดรถ( Parking Spaces) เพื่อความสะดวกของประชาชนในการหาที่จอดรถในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น
หน่วยงาน Cisco ได้คาดการณ์ว่า หากเมืองใหญ่ต่างๆสามารถขับเคลื่อนนโยบายเพื่อเข้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะได้สำเร็จ และสามารถบริหารจัดการเมืองและดำเนินงานตามแผนทั้งหมด 6 หัวข้อ ดังที่กล่าวข้างต้น เมืองนั้นจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพใช้พลังงานที่ดีขึ้น ( Energy Efficiency) โดยจะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 20 ปี
เรียบเรียงและแปลโดย: นนทนีย์ วิบูลย์กุล
ที่มา : Reference
https://www.scimath.org/article-physics/item/4837-smart-grid
https://www.weforum.org/agenda/2019/01/the-anatomy-of-a-smart-city/