Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย OMG!! พบพลาสติกในสัตว์ที่อยู่ลึกที่สุดในมหาสมุทร


งานวิจัยชิ้นใหม่ของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า “แอมฟิพอด (Amphipod)” มากกว่า 80% ที่ก้นมหาสมุทรที่ลึกที่สุด 6 แห่งหลงกินเส้นใยและชิ้นส่วนพลาสติกเป็นอาหา

นักวิจัยพบว่ายิ่งลงไปในทะเลระดับลึกก็ยิ่งพบเส้นใยพลาสติกเป็นจำนวนมาก เช่นที่ร่อง Mariana Trench ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความลึกกว่า 11 กิโลเมตร พบการปนเปื้อนของเส้นใยพลาสติกในแอมฟิพอดทุกตัวที่เก็บตัวอย่าง เรียกว่าปนเปื้อนแบบ 100%

ตัวแอมฟิพอดเป็นสัตว์ในกลุ่มครัสเตเซียน (Crustaceans) คือสัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้มตัวลำตัวเป็นปล้องๆ อย่างเช่นปูหรือกุ้ง และแอมฟิพอดก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์ในทะเลหลายชนิด จึงมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการส่งต่อพลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารกลับมาเข้าท้องมนุษย์

Susanne Brandon นักพิษวิทยาจาก Oregon State University อธิบายว่าที่แอมฟิพอดหลงกินพลาสติกเหล่านี้เพราะมันมีขนาดใกล้เคียงกับแพลงตอนพืชที่เป็นอาหาร ปลาและสัตว์น้ำที่กินแอมฟิพอดเป็นอาหารจึงส่งต่อไมโครพลาสติกเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และเริ่มพบวาฬที่เข้ามาเกยตื้นบางตัวมีชิ้นส่วนพลาสติกเล็กๆ เหล่านี้เคลือบอยู่ในลำไส้แล้วด้วย

นอกจากการลดใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อีกอย่างที่เราก็จะทำได้ก็คือยอมรับว่าการคิดถึงสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เพราะผลกระทบมันมาอยู่ในจานอาหารของเราเลยแหละ
——————————————————————————————————————————————-
ที่มา:
https://www.facebook.com/Re4Reef/photos/a.1760112694300963/2146166285695600/?type=3&theater
https://www.nationalgeographic.com/environment/2019/02/deep-sea-creatures-mariana-trench-eat-plastic/

Print Friendly, PDF & Email