โครงการชุมชนจักรยานเพื่อสุขภาวะ ปี 3 เดินหน้าสร้างชุมชนจักรยานใน 60 ชุมชนทั่วไทย เปิดมิติใหม่ด้วยการพัฒนา 7 นวัตกรรม ซึ่งเป็นแนวทางที่จะเป็นเครื่องมือช่วยชุมชนต่างๆ ในการไปพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนที่เป็นมิตรกับจักรยานในแบบฉบับของตนเอง โดยต่อยอดทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดผล รวมถึงเน้นการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายภายในชุมชนแต่ละกลุ่มอย่างเข้าถึงมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืน
7 นวัตกรรม 7 รูปแบบส่งเสริมจักรยานในชุมชน
1. จักรยาน รักษ์โลก ร่วมกับกลุ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องการส่งเสริมชุมชนในการเดินทางเพื่อเมืองยั่งยืน โดยบูรณาการร่วมกับงานด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีกระบวนการเสริมทักษะในการจัดการสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมรณรงค์ด้วยจักรยาน ชูประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมได้ ยกย่องเชิดชูผู้ที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
2. คบเด็ก(ปั่น) จักรยาน สำรวจกลุ่มเด็ก เยาวชน แบ่งกลุ่มบวก กลุ่มเสี่ยง เพื่อวางแผนจัดกิจกรรม สำรวจความต้องการของกลุ่ม จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชน สร้างกลุ่มเด็ก เยาวชนแกนนำ หน่วยกล้าเดิน หน่วยกล้าปั่น หาโรงเรียนนำร่องส่งเสริมการใช้จักรยาน พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่มีจักรยานเป็นเครื่องมือในการสอน
3. หมอชวนปั่น...จักรยานกับงานสาธารณสุขชุมชน ทำงานผ่านกลุ่ม อสม. รพ.สต. และคนทำงานสาธารณสุข ในชุมชน ที่ต้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนเชิงรุกและสร้างสรรค์ มีความต้องการเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ และการบริการด้านสุขภาพ จัดกิจกรรมรณรงค์ด้วยจักรยาน ชูปัญหาสุขภาพ คลี่คลายได้ด้วยจักรยาน ยกย่องเชิดชูบุคคลที่มีสุขภาพดีด้วยการปั่นจักรยาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
4. คนสูงวัย กับจักรยาน ส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างง่ายกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน สร้างกิจกรรมให้กลุ่มผู้สูงอายุมีเพื่อน มีสังคม ยกย่องเชิดชูกกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้จักรยานเป็นประจำ เป็นตัวอย่างของคนสูงวัยที่มีคุณภาพ ชูปัญหาสุขภาพของคนสูงวัยคลี่คลายได้ด้วยจักรยาน มีการประยุกต์จักรยานให้เหมาะสมกับการใช้งานกับกลุ่มผู้สูงวัย
5. มาตรการและแรงจูงใจ ให้คนใช้จักรยาน คนในชุมชนส่วนใหญ่มีจักรยานแต่ขาดแรงจูงใจในการนำออกมาใช้ คนในชุมชนต้องการใช้จักรยาน แต่ไม่มีจักรยานให้ใช้ แกนนำมีศักยภาพที่กำหนดทิศทางพัฒนาชุมชนได้ มีทรัพยากรที่พร้อมในการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ กำหนดรูปแบบมาตรการชัดเจน และมีผลทางปฏิบัติ
6. จักรยาน…เครื่องมือจัดการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนมีอัตลักษณ์ วัฒนธรรมชุมชน มีสภาพแวดล้อมสวยงาม มีโบราณสถาน หรือของดีท้องถิ่น สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลคนใช้จักรยานในชุมชน หาข้อมูลนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชุมชน สร้างจุดขาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อม สำรวจเส้นทาง จัดทำเส้นทางท่องเที่ยว ทดลองจัดทริปชวนคนปั่นในชุมชน นอกชุมชน
7. จักรยาน เครื่องมือในการบูรณาการงานท้องถิ่น ชุมชน พื้นที่ต้องการส่งเสริมการใช้จักรยานในวิถีอย่างจริงจัง ต้องการเป็น “ต้นแบบชุมชนจักรยาน” สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคท้องถิ่น และชุมชน มีกระบวนการทำความเข้าใจนโยบายท้องถิ่น ผนวก “จักรยาน” กับภารกิจท้องถิ่น จัดตั้งคณะทำงานจักรยานของท้องถิ่น กำกับการทำงาน และติดตามผล จนเกิดชุดความรู้ “จักรยานกับการบูรณางานชุมชน ท้องถิ่น” ที่ใช้จักรยานเป็นเครื่องมือ
ซึ่งท้ายที่สุดสิ่งที่โครงการฯมุ่งหวังคือ นวัตกรรมทั้ง 7 นี้จะสามารถกลายเป็นเครื่องมิอหรือเป็นแนวทางสำหรับชุมชนต่างๆที่ต้องการพัฒนาชุมชนสู่เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้การเดินและการจักรยานเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญได้อย่างทั่วถึง