Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย งานวิจัยจัดอันดับการเดินทางแบบ “รักษ์โลก”


รู้ไหมว่า ในอากาศรอบๆ ตัวเรา มีหลายอย่างที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่กลับเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

เป็นต้นว่า มลพิษทางอากาศที่เกิดจากสารเคมีที่เรามองไม่เห็น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพาหนะในการเดินทางแต่ละวันบน ระดับของมลพิษนี้ วัดได้จากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปะปนอยู่ในอากาศที่มนุษย์หายใจ แม้คนทั่วไปจะวัดได้ยาก แต่เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักว่ามีอยู่และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ

สถาบันเพื่อการขนส่งที่เหมาะสม (Institute for Sensible Transpot) ได้จัดทำอินโฟกราฟฟิกเพื่อแสดงผลเปรียบเทียบ ให้เห็นถึงจำนวนการใช้พลังงาน อันนำไปสู่การปล่อยมลพิษในอากาศ และแสดงถึงโครงสร้างพื้นฐาน ของการใช้พื้นที่เพื่อการขนส่งที่แตกต่างกัน

ภาพอินโฟกราฟฟิกชุดนี้ จัดทำจากงานวิจัย โดย Dr Elliot Fishman โดยแสดงผลการจัดอันดับถึง ประเภทการเดินทางที่ผลิตคาร์บอนด์ในอากาศน้อยที่สุด โดยดูจากตัวเลขที่อยู่ในลูกโป่ง แสดงผลเป็นปริมาณ กรัมของคาร์บอน ต่อการเดินทางในระยะ 1 กิโลเมตร

การเดินทางที่สร้างมลพิษในอากาศน้อยที่สุด ไล่เรียงลำดับ ได้แก่ 1.การเดิน 2.การขี่จักรยาน 3.รถยนต์ที่ใชัพลังงานสีเขียว 4.รถราง และ 5.รถไฟ
ส่วนการเดินทางที่สร้างระดับคาร์บอนมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์แทบทุกชนิด โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลประเภทรถโบราณ หรือ รถคลาสสิก ถัดมาคือรถไฟฟ้า และรถยนต์สำหรับครอบครัว รองลงมาคือรถมอเตอร์ไซค์ และรถโดยสาร

ทั้งนี้ ปัญหาในการขนส่ง ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เฉพาะการลดมลพิษในอากาศเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการใช้พื้นที่การขนส่งด้วย ซึ่งจะเห็นว่ารถยนต์ 1 คันใช้พื้นที่บนถนนมากที่สุด ขณะที่การเดินและจักรยานใช้พื้นที่น้อย โดยดูได้จากตัวเลขในรูปรอยเท้า แสดงพื้นที่เป็นตารางเมตรที่จำเป็นต้องใช้ในพาหนะแต่ละชนิด

อินโฟกราฟฟิกชุดนี้ ถูกแชร์ไปทั่วโลกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 เป็นต้นมา พร้อมกับการตั้งคำถามว่า เมื่อเห็นแล้ว คุณจะเลือกการเดินทางประเภทใด ที่จะช่วยรักษาโลกนี้ให้ปลอดภัยได้ในอนาคต

ที่มา : http://www.climateactionmoreland.org

Print Friendly, PDF & Email