Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย คำแนะนำสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ที่นิยมใช้จักรยาน


ผู้หญิงจำนวนมากรักการใช้จักรยาน ทั้งในการเดินทางหรือแม้แต่ในการออกกำลังกาย แต่ก็แอบกังวลว่ากิจกรรมที่เคยใช้จักรยานต้องหยุดลงรึเปล่า เพราะกลัวจะสร้างปัญหาให้ลูกในท้องได้

ที่จริงแล้ว การใช้จักรยาน ไม่ได้มีข้อห้ามโดยตรงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ในทางกลับกันหากใช้เพื่อการออกกำลังกายก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพครรภ์อีกด้วย เพียงแต่ต้องระมัดระวังในการปั่นเป็นพิเศษ และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสุขภาวะในช่วงตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส

1. หลีกเลี่ยงการใช้จักรยาน ในช่วง 1-3 เดือนแรก
เพราะในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงปรับตัวสูงของแม่ ซึ่งมักมีอาการแพ้ท้อง อ่อนเพลีย หน้ามืด วูบ ได้ และเป็นช่วงระวังพิเศษในการแท้งลูก ดังนั้น งดการปั่นในช่วงนี้ดีกว่า

2. ปั่นเบาๆ หลังสัปดาห์ที่ 13 – 27
อาการอ่อนเพลีย แพ้ท้องมักลดลงหลังสัปดาห์ที่ 13 การกลับมาปั่นจักรยานเริ่มเป็นไปได้ แต่แนะนำให้ปั่นเบาๆ ไม่หักโหมเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไป และแนะนำการปั่นบนถนนราบ ไม่ขรุขระที่เสี่ยงต่อการหกล้ม ปั่นวันละไม่เกิน 1-2 กิโลเมตร

3. ลดชั่วโมงการใช้ลง
หากปกติใช้ไปทำงาน ไปตลาด หรือทำธุระอยู่ที่ 20 -25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ควรลดลงให้เหลือราวๆ 10-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะคนท้องมักเหนื่อยง่ายกว่าคนทั่วไป จึงไม่ควรหักโหม
และอีกทีคือในช่วง 3 เดือนสุดท้าย หรือหลัง 27 สัปดาห์ขึ้นไป ครรภ์จะมีขนาดใหญ่ การทรงตัวบนจักรยานอาจเสี่ยงล้มได้ง่าย และหายใจลำบากขึ้น แต่หากต้องการปั่นจริงๆ อาจปั่นรอบๆ บ้าน แบบช้าๆ ไม่แนะนำให้ออกสู่ถนนใหญ่

4. เพิ่มความปลอดภัยด้วยการปั่นอยู่กับที่
หากต้องการออกกำลังกายด้วยการปั่นช่วงครรภ์เริ่มโต อาจเลือกปั่นอยู่กับที่ (Spin Bike) ที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีแรงกระแทก และลดความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน

5. หยุดปั่นทันที หากมีอาการท้องแข็ง
หากปั่นแล้วกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ ท้องลง หรือรู้สึกปวดกล้ามเนื้อแบบผิดปกติ รีบหยุดการปั่นและปรึกษาแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

ข้อมูลจาก http://www.totalwomenscycling.com

Print Friendly, PDF & Email