Home ข้อมูลความรู้ งานวิจัย จุฬาฯ เจ๋ง ผลิตแก้วกระดาษ ย่อยได้ใน 4 เดือน

หลังจากที่วันสิ่งแวดล้อมโลกในปีนี้ ได้ให้ความสนใจแนวคิดการ “ลดและเลิกใช้พลาสติก” ประเภทใช้แล้วทิ้ง หรือย่อยสลายยาก ซึ่งหลายประเทศหันมาพัฒนาโปรดักส์ดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมาตรการลดพลาสติกกันอย่างคึกคัก

ประเทศไทยของเรา ก็ไม่น้อยหน้าใคร โดยทีมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี ปิโตรเคมี และวัสดุ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้น แก้วกระดาษที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ เพราะย่อยสลายได้ในเวลา 4 เดือนเท่านั้น โดยมีชื่อโครงการว่า Chula Zero Waste

แก้วกระดาษที่ว่านี้ เป็นแก้วที่ทำจากกระดาษพิเศษ โดยใช้สารเคลือบไบโอพลาสติกประเภท PBS ผลิตจากธรรมชาติ พิมพ์ด้วยน้ำหมึกถั่วเหลือง (Soy Ink) ซึ่งทดลองแล้วว่าย่อยสลายจนหมดในเวลาแค่ 4-6 เดือนเท่านั้นในกระบวนการหมัก หรือหากตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ทิ้งไว้ตามโคนต้นไม้ ย่อยสลายหมดในเวลาไม่ถึง 12 เดือน

แก้วกระดาษที่จุฬาฯ ผลิตขึ้นนี้ได้เริ่มนำมาใช้บ้างแล้ว ในโรงอาหารกลางของมหาวิทยาลัย ก่อนจะขยายไปยังโรงอาหารอื่นๆ ต่อไป ซึ่งสามารถลดปริมาณขยะจากพลาสติกได้มากถึง 2 ล้านใบต่อปี

เมื่อนำไปหมัก หรือทิ้ง พบว่าไม่มีสารพิษตกค้าง แล้วยังทำให้คุณภาพดินมีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วยเพราะมีสารบำรุงดินจากวัสดุที่ใช้ โดยในการผลิต ศูนย์ยังคิดแนวทางการย่อยสลาย ให้ครบทั้งกระบวนการ เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาขยะของประเทศต่อไป

ที่มา : http://www.chulazerowaste.chula.ac.th
http://www.facebook.com/chulazerowaste

 

Print Friendly, PDF & Email